การเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เป็นกระบวนการอันซับซ้อนที่ทำให้พฤติกรรมของบุคคลเปลี่ยนแปลงไป
สืบเนื่องมาจากประสบการณ์ที่ได้รับผ่านประสาทสัมผัส
สามารถเกิดขึ้นได้โดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ
ทั้งนี้ผลของการเรียนรู้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใน 3 ด้าน คือด้านความรู้ (Knowledge)
ด้านทักษะหรือกระบวนการ (Skill Process) และด้านความรู้สึก (Affective)
(พรพิมล พรพีรชนม์. 2550 :5) การเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ต่างๆ
มีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย
ผู้สอนต้องคำนึงถึงพัฒนาการทางด้านร่างกาย
และสติปัญญา วิธีการเรียนรู้ความสนใจและความสามารถของผู้เรียนเป็นระยะๆ
อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น
การจัดการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้นควรใช้รูปแบบ/วิธีการที่หลากหลาย
เน้นการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง การเรียนรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้ร่วมกัน
การเรียนรู้จากธรรมชาติ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และการเรียนรู้แบบบูรณาการ
การใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
การเรียนรู้คู่คุณธรรม ทั้งนี้ ต้องพยายามนำกระบวนการการจัดการ
กระบวนการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
กระบวนการคิดและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปสอดแทรกในการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
เนื้อหาและกระบวนการต่างๆ ข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้
ซึ่งการเรียนรู้ในลักษณะองค์รวมการบูรณาการ เป็นการกำหนดการเรียนร่วมกัน
ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยนำกระบวนการเรียนรู้จากกลุ่มสาระเดียวกัน
หรือต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้มาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน(นพเก้า ณ พัทลุง.2550 :35)
“โจทย์ที่สำคัญ คือ
เด็กไทยส่วนใหญ่เรียนแบบท่องจำ ทำให้เด็กไทยขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เมื่อประกอบกับเด็กไทยยังขาดทักษะชีวิต เห็นได้จากกรณีท้องก่อนวัยอันควร
ปัญหายาเสพติด ซึ่งประเด็นสำคัญ คือ เราจะทำให้เด็กเกิดความมั่นคงด้านจิตใจ
และเห็นคุณค่าในตัวเองได้อย่างไร พบว่า
นักเรียนมีปัญหาด้านทักษะ/กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาไม่ประสบผลสำเร็จ
และเรื่องที่นักเรียนมีปัญหาในการเรียนมากที่สุดประยุกต์ ซึ่งนักเรียนไม่สามารถแก้โจทย์ปัญหาได้เพราะขาดความรู้ทักษะวิธีการแก้โจทย์ปัญหา
จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
และอีกเหตุผลหนึ่ง คือ เกิดจากครูผู้สอนซึ่งครูผู้สอนควรเปลี่ยนบทบาทและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดตัวนักเรียนเป็นสำคัญโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
การจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นกระบวนการพัฒนาทางด้านร่างกาย
สติปัญญาความรู้ และคุณธรรมของผู้เรียน
ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้นักเรียนนั้นมีเป้าหมายที่สำคัญ2ประการ คือ ให้นักเรียนรู้จักวิธีคิด
และมีทักษะการแก้ปัญหาเกี่ยวกับทักษะในชีวิตประจำวันได้
การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะถือได้ว่าการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เป็นหัวใจของการเรียนแต่การเรียนการสอนเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ผ่านมานั้นยังมีข้อบกพร่องอยู่มาก
สาเหตุเนื่องมาจากนักเรียนไม่สามารถแก้โจทย์ปัญหาได้ และนักเรียนยังขาดความรู้
ความเข้าใจ ในเนื้อหาเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่นักเรียนเรียนอยู่
และที่สำคัญนักเรียนยังขาดทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ไม่สามารถตีความ และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในสิ่งที่โจทย์กำหนดให้
กับสิ่งที่โจทย์ถาม ทำให้ไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นแก้โจทย์ปัญหาอย่างไร และจะต้องใช้วิธีการใดในการคิดคำนวณหาคำตอบที่ถูกต้อง
(สมจิตร กำเนิดผล2546 :3)
ปัญหาอุปสรรคและสาเหตุที่นักเรียนทำ
โจทย์ปัญหา ไม่ได้
บรุคเนอร์ และครอสสนิกเกิล ได้กล่าวถึงอุปสรรคในการทำโจทย์ปัญหาของนักเรียนดังนี้
1. นักเรียนไม่สามารถเข้าใจโจทย์ปัญหาทั้งหมดหรือบางส่วนเนื่องจากขาดประสบการณ์และขาดความเข้าใจใน โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์
2. นักเรียนบกพร่องในการอ่านและทำความเข้าใจ โจทย์ปัญหา
3. นักเรียนไม่สามารถคิดคำนวณได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากนักเรียนลืมวิธีทำหรือไม่เคยเรียนมาก่อน
4. นักเรียนขาดความเข้าใจกระบวนการและวิธีการของ โจทย์ปัญหา จึงทำให้หาคำตอบโดยการเดาสุ่ม
5. นักเรียนขาดความรู้ในเรื่องกฎเกณฑ์และสูตร
6. นักเรียนขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการเขียนอธิบาย
7. นักเรียนไม่ทราบความสัมพันธ์เชิงปริมาณวิเคราะห์อาจมีสาเหตุมาจากการเรียนรู้ศัพท์เพียงจำนวนจำกัด หรือ ขาดความเข้าใจหลักเกณฑ์ทาง คณิตศาสตร์ ต่างๆ
8. นักเรียนขาดความสนใจ
9. ระดับสติปัญญาของนักเรียนต่ำเกินไป
10. ขาดการฝึกฝนในการทำ โจทย์ปัญหา
1. นักเรียนไม่สามารถเข้าใจโจทย์ปัญหาทั้งหมดหรือบางส่วนเนื่องจากขาดประสบการณ์และขาดความเข้าใจใน โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์
2. นักเรียนบกพร่องในการอ่านและทำความเข้าใจ โจทย์ปัญหา
3. นักเรียนไม่สามารถคิดคำนวณได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากนักเรียนลืมวิธีทำหรือไม่เคยเรียนมาก่อน
4. นักเรียนขาดความเข้าใจกระบวนการและวิธีการของ โจทย์ปัญหา จึงทำให้หาคำตอบโดยการเดาสุ่ม
5. นักเรียนขาดความรู้ในเรื่องกฎเกณฑ์และสูตร
6. นักเรียนขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการเขียนอธิบาย
7. นักเรียนไม่ทราบความสัมพันธ์เชิงปริมาณวิเคราะห์อาจมีสาเหตุมาจากการเรียนรู้ศัพท์เพียงจำนวนจำกัด หรือ ขาดความเข้าใจหลักเกณฑ์ทาง คณิตศาสตร์ ต่างๆ
8. นักเรียนขาดความสนใจ
9. ระดับสติปัญญาของนักเรียนต่ำเกินไป
10. ขาดการฝึกฝนในการทำ โจทย์ปัญหา
ทฤษฏี หลักการ และแนวคิดเกี่ยวกับ “การคิด” จากต่างประเทศ
มีนักคิดนักจิตวิทยา และนักวิชาการจากต่างประเทศจำนวนมากที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการคิด ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดที่สำคัญ ๆ ในเรื่องนี้มีดังนี้ (ทิศนา แขมมณี,๒๕๔๐)
เลวิน (Lewin) นักทฤษฎีกลุ่มเกสต์ตัลท์ (Gestalt) เชื่อว่า ความคิดของบุคคลเกิดจากการรับรู้สิ่งเร้า ซึ่งบุคคลมักรับรู้ในลักษณะภาพรวมหรือส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย
บลูม (Bloom, ๑๙๖๑) ได้จำ แนกการรู้ (Cognition) ออกเป็น ๕ ขั้น ได้แก่ การรู้ขั้นความรู้ การรู้ขั้นเข้าใจ การรู้ขั้นวิเคราะห์ การรู้ขั้นสังเคราะห์ และการรู้ขั้นประเมิน
ทอแรนซ์ (Torrance, ๑๙๖๒) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ว่าประกอบไปด้วย ความคล่องแคล่วในการคิด (Fluency) ความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility) และความคิดริเริ่มในการคิด (Originality)
ออซูเบล (Ausubel, ๑๙๖๓) อธิบายว่า การเรียนรู้อย่างมีความหมาย(Meaningful Verbal Learning) จะเกิดขึ้นได้ หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีมาก่อน ดังนั้น การให้กรอบความคิดแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระใด ๆจะช่วยเป็นสะพานหรือโครงสร้างที่ผู้เรียนสามารถนำ เนื้อหา/สิ่งที่เรียนใหม่ไปเชื่อมโยงยึดเกาะได้ ทำ ให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมาย
เพียเจต์ (Piaget, ๑๙๖๔) ได้อธิบายพัฒนาการทางสติปัญญาว่าเป็นผลเนื่องมาจากการปะทะสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม โดยบุคคลพยายามปรับตัวโดยใช้กระบวนการดูดซึม (Assimi-lation) และกระบวนการปรับให้เหมาะ (Accommodation)โดยการพยายามปรับความรู้ ความคิดเดิมกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งทำ ให้บุคคลอยู่ในภาวะสมดุล สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ กระบวนการดังกล่าวเป็นกระบวนการพัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาของบุคคล
บรุนเนอร์ (Bruner, ๑๙๖๕) กล่าวว่า เด็กเริ่มต้นเรียนรู้จากการกระทำ ต่อไปจึงจะสามารถจินตนาการ สร้างภาพในใจหรือในความคิดขึ้นได้ แล้วจึงถึงขั้นการคิดและเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม
เนื่องจากกระบวนการแก้โจทย์ปัญหามีความสำคัญ
ควรมีการแก้โจทย์ปัญหาอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนที่ชัดเจนและเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับการแก้โจทย์ปัญหา
เช่น
โดยใช้ชุดการเรียนกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
โดยใช้วิธีการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การตีความ
การแก้โจทย์ปัญหา อย่างเป็นขั้นตอน
การทำแบบฝึกหัดซ้ำๆ
และการสร้างโจทย์ปัญหาด้วยตัวเอง (นางชุ่มขชล ศาลิคุป
ตำแหน่ง ครู คศ. 2
โรงเรียนวัดไผ่ตัน
สำนักงานเขตพญาไท)
ขอบคุณครับ สำหรับความรู้
ตอบลบEl Yucateco - Casino Restaurants - MapYRO
ตอบลบFind your favorite restaurant 태백 출장마사지 in 여주 출장마사지 El Yucateco, 경상남도 출장마사지 CA. The location is 12500 N.Y. S. in the 경산 출장샵 center 세종특별자치 출장안마 of the Las Vegas Strip.